อยากได้

อยากได้
*-*รถหรุมาใหม่*-*

วันพฤหัสบดีที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่7


Web ตายแน่ แต่ Internet ยั่งยืน?


[เอ.อาร์.ไอ.พี, www.arip.co.th] พาดหัวบทความที่กำลังได้รับความสนใจอย่างกว้างขวางอยู่ในขณะนี้ โดยประเด็นดังกล่าวถูกหยิบยกนำมาเขียนโดย Chris Anderson เจ้าของทฤษฎีอันลือลั่น และหนังสือขายดีอย่าง Long Tail รวมถึงล่าสุด Free Economy บทความชิ้นดังกล่าวปรากฎในนิตยสาร Wired ในฐานะหัวหน้าบรรณาธิการ Web กำลังจะตาย หรือไม่ได้รับความสนใจจากผู้บริโภคอย่างนั้นหรือ? เหตุใด Anderson ถึงกล่าว และคิดเช่นนั้น
Chris Anderson เปิดประเด็นที่ทำให้เกิดการถกเถียงอย่างกว้างขวางในบทความจากปกของนิตยสาร Wired ว่า "เว็บ"กำลังจะได้รับความสนใจจากผู้ใช้ลดลงไปเรื่อยๆ เนื่องจากการเกิดความนิยมในการใช้แอพฯ และอุปกรณ์ต่างๆ ทีมีหน้าจอ โดยบทความดังกล่าวพาดหัวเรื่องว่า "The Web is Dead. Long Live the Internet" ทั้งนี้ Anderson ให้เหตุผลในบทความไว้ว่า โลกของแอพฯดาวน์โหลด ซึ่งทำงานกับอินเทอร์เน็ต และการเกิดของแก็ดเจ็ตอย่าง iPhone หรือ Xbox กำลังเข้ามาแทนที่การใช้บริการ World Wide Web อย่างรวดเร็ว เนื่องจากผู้ใช้ชอบอะไรที่เสร็จสมบูรณ์ในตัว แพลตฟอร์มที่ทำหน้าที่เฉพาะงาน และสิ่งได้รับการออกแบบให้ใช้บนหน้าจอมือถือโดยเฉพาะ


หลักฐานยืนยันความคิดของเขาก็คือ กราฟข้างบนนี้ ซึ่งแสดงแทรฟฟิกของเว็บตั้งแต่ปี 2000 โดยจะเห็นว่า แทรฟฟิกการใช้เว็บบนอินเทอร์เน็ตโดยรวมของผู้ใช้ในสหรัฐฯลดลง ทั้งนี้้กราฟดังกล่าวมาจากรายงานของ Cisco ที่ใช้ข้อมูลจาก Cooperative Association for Internet Data Analysis กลุ่มประสานงานในการสอดส่องติดตามความเป็นไปของโครงสร้างพื้นฐานของอินเทอร์เน็ต อย่างไรก็ตาม เว็บไซต์อย่าง Boing Boing ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับข้อเขียนนี้ว่า หากคุณเปลียนกราฟนี้ เพื่อแสดงให้เห็นการเติบโตของแทรฟฟิกออนไลน์ก็จะเห็นว่า มันมีการเติบโตของแทรฟฟิกในทุกแพลตฟอร์มการใช้งานอินเทอร์เน็ต ซึ่งรวมถึงเว็บด้วย (ดูกราฟข้างล่างนี้)


แม้สิ่งที่อ้างถึงในบทความที่ว่า การใช้แอพฯดาวน์โหลดเพิ่มขึ้น แค่ลำพัง Apple เจ้าเดียวก็ปาไปแล้วหลายพันล้านดาวน์โหลด แต่การใช้งานในด้านอื่นๆ ของเว็บก็เพิ่มขึ้นอย่างน่าทึ่งไม่แพ้กันอีกด้วย ตัวอย่างเช่น Facebook ไม่เพียงแต่จะมีอัตราการเติบโตที่รวดเร็วจนวันนี้มีผู้ใช้มากกว่า 500 ล้านแล้วเท่านั้น แต่มันยังมีอัตราการเติบโตบน Mobile Application ไปด้วยพร้อมกัน กล่าวโดยรวมคือ มันโตทุกแพลตฟอร์มนั่นเอง


สำหรับประเด็นอื่นๆ ที่น่าคิดอีกด้วยก็คือ แอพพลิเคชัน และเว็บไซต์ส่วนใหญ่จะสอดรับประสานกันจนยากที่จะแยกความแตกต่างออกจากกันได้ ยกเว้นเกมส์ที่ดาวน์โหลดไปเล่นกัน เว็บแอพฯส่วนใหญ่จะให้บริการข่าว และข้อมูลต่างๆ จากเว็บ และอินเทอร์เน็ต เพื่อให้มันทำงานได้อย่างสมบูรณ์ ดังนั้น ยิ่งมีอุปกรณ์เชื่อมต่อกับเน็ตเพิ่มขึ้นมากเท่าไร (แอพฯมือถือ ทีวี เครื่องเล่นเกมส์ ฯลฯ) ผู้บริโภคก็จะยังคงเข้าถึงเว็บด้วย และนั่นทำให้เว็บเติบโตในแพลตฟอร์มต่างๆ ไปด้วยต่างหาก แล้วคุณผู้อ่านล่ะครับ คิดเห็นอย่างไร? กับประเด็นนี้
ข้อมูลจาก: zdnet

ที่มา http://www.arip.co.th/news.php?id=411968


วันอาทิตย์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่6

อินเทอร์เน็ต
ดีแทคเปิดตัว"อินเทอร์เน็ตซิม"เกาะกระแสคนรักทวิตเตอร์-เฟซบุ๊ค ต่อเน็ตนาทีละสลึงดีแทคเปิดตัวซิมใหม่ "แฮปปี้อินเทอร์เน็ต"คิดค่าบริการนาทีละสลึง ไม่มีเหมาจ่ายไม่ต้องสมัครแพ็คเกจ หวังขยายกลุ่มคนใช้เกาะกระแสโซเชียลมีเดีย ทั้ง Twitter- Facebook ผ่านสมาร์ทโฟน ทั้งเตรียมคลอด "ไมโครซิม"เอาใจลูกค้าไอแพดของแอปเปิลเดือนมิ.ย.
P { margin: 0px; }
นายปกรณ์ พรรณเชษฐ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายผลิตภัณฑ์ บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) เปิดเผยว่าจากปริมาณการใช้ดาต้าบนเครือข่ายดีแทคได้เติบโตขึ้นโดยเฉพาะกลุ่มผู้ใช้สมาร์ทโฟนและฟีเจอร์โฟนโดยในปี พ.ศ. 2551 มีผู้ใช้งาน 3ล้านคน ปี พ.ศ. 2552 มีเกือบ 4 ล้านคน และปีนี้น่าจะเพิ่มขึ้น 40%จากปีก่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีเหตุการณ์สำคัญพบว่าการใช้โซเชียลมีเดียอัพเดทข้อมูลหรือติดตามข่าวมีการใช้งานเพิ่มขึ้น เพื่อตอบรับพฤติกรรมผู้บริโภค ที่ให้ความสนใจกระแสโซเชียลมีเดียอย่าง Twitter จึงได้ออกแบบซิมที่เหมาะสม และง่ายต่อการใช้งานจริง ได้แก่ แฮปปี้อินเทอร์เน็ตซิมใหม่ ที่คิดค่าบริการนาทีละสลึง (25สตางค์)
โดยซิมดังกล่าวสามารถใช้ได้เลยโดยไม่ต้องสมัครแพ็กเกจใช้เท่าไรจ่ายตามจริงและยังได้ฟรีการใช้อินเทอร์เน็ต 300 นาที ภายใน 30 วัน รับวันใช้งานเพิ่ม 100 วันสำหรับทุกครั้งที่เติมเงิน (สะสมสูงสุด 365 วัน) ส่วนค่าโทรคิดนาทีละ 1 บาททุกเครือข่ายจึงใช้ได้ทั้งการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตจากสมาร์ทโฟนและฟีเจอร์โฟนหรือผ่านแอร์การ์ดเชื่อมต่อโน้ตบุ๊ก
ทั้งนี้จากข้อมูลล่าสุดพบว่าทุกวันนี้การใช้โซเชียลมีเดียส่วนใหญ่ทำบนมือถือไม่ว่าจะเป็นบนสมาร์ทโฟนหรือฟีเจอร์ โฟน ที่มีแอพพลิเคชั่นรองรับการเชื่อมต่อไปยังเว็บไซต์โซเชียลมีเดียต่างๆได้สะดวกขึ้น โดยสถิติที่น่าสนใจคือคนไทยนิยมใช้ Twitter มากขึ้น ล่าสุดเว็บไซต์ 50 อันดับที่คนไทยสนใจและนิยมมากที่สุดในเดือนเมษายนที่ผ่านมา Twitter ได้ไต่จาก 26 ขึ้นมาเป็น 21 และด้วยหลักการ Tweet ที่ผู้ใช้จะ Tweet ข้อความไม่เกิน 140 ตัวอักษรต่อครั้งผู้ใช้จึงสะดวกสบายกว่าเมื่อใช้ผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่
นอกจากนั้นการใช้งานโซเชียลมีเดียอื่นๆ เช่น Facebook ผู้ใช้ประมาณ25% จาก 100 ล้านคนก็เป็นการใช้ผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ ซึ่งสูงเป็น 2เท่าของผู้ที่ใช้งานผ่านคอมพิวเตอร์ และปัจจุบัน Twitter ยังเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่บริษัทห้างร้านต่างๆใช้เป็นช่องทางในการติดต่อหรือให้ข้อมูลข่าวสารกับกลุ่มลูกค้าโดยตรงด้วย
นายปกรณ์กล่าวด้วยว่าจากความนิยมในการใช้ไอแพดอีบุ๊กของแอปเปิลโดยดีแทคเตรียมที่จะเปิดตัวไมโครซิมที่ใช้ กับไอแพดโดยเฉพาะคาดว่าจะออกมาทำตลาดในช่วงเดือนมิ.ย.นี้เพื่อรองรับลูกค้าไอแพด
และจากกระแสทวิตเตอร์ที่มาแรงโดยเฉพาะช่วงวิกฤติทำให้คนไทยหันมาสนใจและติดตามข่าวสารได้รวด เร็วทันสถานการณ์ ดีแทคจึงจัดเสวนา "Powerof Twitter"เพื่อ วิเคราะห์กรณีศึกษาและประโยชน์ของโซเชียลมีเดียจากเหตุการณ์ที่ผ่านมา โดยเชิญผู้เชี่ยวชาญด้านทวิตเตอร์ 4 ท่านมาร่วมพูดคุย ได้แก่ ธันยวัชร์ ไชยตระกูลชัย (@mktmag) หนุ่ยหรือ พงศ์สุข หิรัญพฤกษ์ (@nuishow) นิ้วกลม หรือ สราวุธ เฮ้งสวัสดิ์ (@roundfinger) และ นภพัฒน์จักษ์ อัตตนนท์ (@noppatjak)
ที่มา http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1275380160&grpid=02&catid=no

วันอาทิตย์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่5

อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย
อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยเริ่มขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2530 โดยการเชื่อมต่อมินิคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) ไปยังมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย แต่ในครั้งนั้นยังเป็นการ เชื่อมต่อโดยผ่านสายโทรศัพท์ ซึ่งสามารถส่งข้อมูลได้ช้าและไม่เป็นการถาวร จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2535 ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ได้ทำการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กับมหาวิทยาลัย 6 แห่ง ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ(NECTEC), มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เข้าด้วยกันเรียกว่า "เครือข่ายไทยสาร"
การให้บริการอินเทอร์เน็ตในประเทศไทยได้เริ่มต้นขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อ เดือน มีนาคม พ.ศ. 2538 โดยความร่วมมือของรัฐวิสาหกิจ 3 แห่ง คือ การสื่อสารแห่งประเทศไทย องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย และสำนักงานส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยให้บริการในนาม บริษัท อินเทอร์เน็ต ประเทศไทย (Internet Thailand) เป็นผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์รายแรกของประเทศไทย
จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย
จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงดังนี้ ปี 2534 (30คน) ปี 2535 (200 คน) ปี 2536 (8,000 คน) ปี 2537 (23,000 คน) ... ข้อมูลล่าสุดของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี 2551 จากจำนวนประชากรอายุ 6 ปีขึ้นไปประมาณ 59.97 ล้านคน พบว่า มีผู้ใช้คอมพิวเตอร์ 16.99 ล้านคน คิดเป็น ร้อยละ 28.2 และมีผู้ใช้อินเทอร์เน็ต 10.96 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 18.2 อินเทอร์เน็ตแบนด์วิท (INTERNET BANDWIDTH)
ปัจจุบัน (มกราคม 2553) ประเทศไทยมี Internet Bandwidth ในประเทศ 110 Gbps และ International Internet Bandwidth 110 Gbps

ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B9%87%E0%B8%95

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่4

อินเทอร์เน็ต

อินเทอร์เน็ต (อังกฤษ: Internet) หมายถึง เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ ที่มีการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายหลายๆ เครือข่ายทั่วโลก โดยใช้ภาษาที่ใช้สื่อสารกันระหว่างคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า โพรโทคอล (Protocol) ผู้ใช้เครือข่ายนี้สามารถสื่อสารถึงกันได้ในหลายๆ ทาง อาทิเช่น อีเมล เว็บบอร์ด และสามารถสืบค้นข้อมูลและข่าวสารต่างๆ รวมทั้งคัดลอกแฟ้มข้อมูลและโปรแกรมมาใช้ได้
เนื้อหา1 ที่มา
2 การประยุกต์ใช้งานอินเทอร์เน็ต
3 จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลก
4 อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย
4.1 จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย
4.2 อินเทอร์เน็ตแบนด์วิท (INTERNET BANDWIDTH)
5 ดูเพิ่ม
6 หน่วยงานไทยที่เกี่ยวข้อง
7 อ้างอิง
8 แหล่งข้อมูลอื่น
ที่มา
อินเทอร์เน็ตเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1969 (พ.ศ. 2512) จากการเกิดเครือข่าย ARPANET (Advanced Research Projects Agency NETwork) ซึ่งเป็นเครือข่ายสำนักงานโครงการวิจัยชั้นสูงของกระทรวงกลาโหม ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมีวัตถุประสงค์หลักของการสร้างเครือข่ายคือ เพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถเชื่อมต่อ และมีปฏิสัมพันธ์กันได้ เครือข่าย ARPANET ถือเป็นเครือข่ายเริ่มแรก ซึ่งต่อมาได้ถูกพัฒนาให้เป็นเครือข่าย อินเทอร์เน็ตใน การประยุกต์ใช้งานอินเทอร์เน็ต
การประยุกต์ใช้อินเทอร์เน็ตในปัจจุบันทำได้หลากหลาย อาทิเช่น ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ อีเมล์ (e-Mail) , สนทนา (Chat), อ่านหรือแสดงความคิดเห็นในเว็บบอร์ด, การติดตามข่าวสาร, การสืบค้นข้อมูล / การค้นหาข้อมูล, การชม หรือซื้อสินค้าออนไลน์ , การดาวโหลด เกม เพลง ไฟล์ข้อมูล ฯลฯ, การติดตามข้อมูล ภาพยนตร์ รายการบันเทิงต่างๆ ออนไลน์, การเล่นเกมคอมพิวเตอร์ออนไลน์, การเรียนรู้ออนไลน์ (e-Learning), การประชุมทางไกลผ่านอินเทอร์เน็ต (Video Conference), โทรศัพท์ผ่านอินเทอร์เน็ต (VoIP), การอับโหลดข้อมูล หรือ อื่นๆ
แนวโน้มล่าสุดของการใช้อินเทอร์เน็ตคือการใช้อินเทอร์เน็ตเป็นแหล่งพบปะสังสรรค์เพื่อสร้างสังคมออนไลน์ (Social Network) ซึ่งพบว่าปัจจุบันเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมดังกล่าวกำลังได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย ไม่ว่าจะเป็น facebook, twitter, hi5 และการใช้เริ่มมีการแพร่ขยายเข้าไปสู่การใช้อินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือ (Mobile Internet) มากขึ้น เนื่องจากเทคโนโลยีปัจจุบันสนับสนุนให้การเข้าถึงเครือข่ายผ่านโทรศัพท์มือถือทำได้ง่ายขึ้นมาก
จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลก

สัดส่วนการผู้ใช้อินเทอร์เน็ตแยกตามทวีป, ที่มา: http://www.internetworldstats.com/stats.htm
ปัจจุบัน จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลกโดยประมาณ 1.733 พันล้านคน หรือ 25.6 % ของประชากรทั่วโลก (ข้อมูล ณ เดือน กันยายน 2552) โดยเมื่อเปรียบเทียบในทวีปต่างๆ พบว่าทวีปที่มีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมากที่สุดคือ เอเชีย โดยคิดเป็น 42.6 % ของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั้งหมด และประเทศที่มีประชากรผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมากที่สุดคือประเทศจีน คิดเป็นจำนวน 360 ล้านคน
หากเปรียบเทียบจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตกับจำนวนประชากรรวม พบว่าทวีปอเมริกาเหนือมีสัดส่วนผู้ใช้ต่อประชากรสูงที่สุดคือ 74.2 % รองลงมาได้แก่ ทวีปออสเตรเลีย 60.4 % และ ทวีปยุโรป คิดเป็น 52.0 % ตามลำดับ

ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B9%87%E0%B8%95

หัวข้อโปรเจ็ก

คลิกที่