อยากได้

อยากได้
*-*รถหรุมาใหม่*-*

วันพฤหัสบดีที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่7


Web ตายแน่ แต่ Internet ยั่งยืน?


[เอ.อาร์.ไอ.พี, www.arip.co.th] พาดหัวบทความที่กำลังได้รับความสนใจอย่างกว้างขวางอยู่ในขณะนี้ โดยประเด็นดังกล่าวถูกหยิบยกนำมาเขียนโดย Chris Anderson เจ้าของทฤษฎีอันลือลั่น และหนังสือขายดีอย่าง Long Tail รวมถึงล่าสุด Free Economy บทความชิ้นดังกล่าวปรากฎในนิตยสาร Wired ในฐานะหัวหน้าบรรณาธิการ Web กำลังจะตาย หรือไม่ได้รับความสนใจจากผู้บริโภคอย่างนั้นหรือ? เหตุใด Anderson ถึงกล่าว และคิดเช่นนั้น
Chris Anderson เปิดประเด็นที่ทำให้เกิดการถกเถียงอย่างกว้างขวางในบทความจากปกของนิตยสาร Wired ว่า "เว็บ"กำลังจะได้รับความสนใจจากผู้ใช้ลดลงไปเรื่อยๆ เนื่องจากการเกิดความนิยมในการใช้แอพฯ และอุปกรณ์ต่างๆ ทีมีหน้าจอ โดยบทความดังกล่าวพาดหัวเรื่องว่า "The Web is Dead. Long Live the Internet" ทั้งนี้ Anderson ให้เหตุผลในบทความไว้ว่า โลกของแอพฯดาวน์โหลด ซึ่งทำงานกับอินเทอร์เน็ต และการเกิดของแก็ดเจ็ตอย่าง iPhone หรือ Xbox กำลังเข้ามาแทนที่การใช้บริการ World Wide Web อย่างรวดเร็ว เนื่องจากผู้ใช้ชอบอะไรที่เสร็จสมบูรณ์ในตัว แพลตฟอร์มที่ทำหน้าที่เฉพาะงาน และสิ่งได้รับการออกแบบให้ใช้บนหน้าจอมือถือโดยเฉพาะ


หลักฐานยืนยันความคิดของเขาก็คือ กราฟข้างบนนี้ ซึ่งแสดงแทรฟฟิกของเว็บตั้งแต่ปี 2000 โดยจะเห็นว่า แทรฟฟิกการใช้เว็บบนอินเทอร์เน็ตโดยรวมของผู้ใช้ในสหรัฐฯลดลง ทั้งนี้้กราฟดังกล่าวมาจากรายงานของ Cisco ที่ใช้ข้อมูลจาก Cooperative Association for Internet Data Analysis กลุ่มประสานงานในการสอดส่องติดตามความเป็นไปของโครงสร้างพื้นฐานของอินเทอร์เน็ต อย่างไรก็ตาม เว็บไซต์อย่าง Boing Boing ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับข้อเขียนนี้ว่า หากคุณเปลียนกราฟนี้ เพื่อแสดงให้เห็นการเติบโตของแทรฟฟิกออนไลน์ก็จะเห็นว่า มันมีการเติบโตของแทรฟฟิกในทุกแพลตฟอร์มการใช้งานอินเทอร์เน็ต ซึ่งรวมถึงเว็บด้วย (ดูกราฟข้างล่างนี้)


แม้สิ่งที่อ้างถึงในบทความที่ว่า การใช้แอพฯดาวน์โหลดเพิ่มขึ้น แค่ลำพัง Apple เจ้าเดียวก็ปาไปแล้วหลายพันล้านดาวน์โหลด แต่การใช้งานในด้านอื่นๆ ของเว็บก็เพิ่มขึ้นอย่างน่าทึ่งไม่แพ้กันอีกด้วย ตัวอย่างเช่น Facebook ไม่เพียงแต่จะมีอัตราการเติบโตที่รวดเร็วจนวันนี้มีผู้ใช้มากกว่า 500 ล้านแล้วเท่านั้น แต่มันยังมีอัตราการเติบโตบน Mobile Application ไปด้วยพร้อมกัน กล่าวโดยรวมคือ มันโตทุกแพลตฟอร์มนั่นเอง


สำหรับประเด็นอื่นๆ ที่น่าคิดอีกด้วยก็คือ แอพพลิเคชัน และเว็บไซต์ส่วนใหญ่จะสอดรับประสานกันจนยากที่จะแยกความแตกต่างออกจากกันได้ ยกเว้นเกมส์ที่ดาวน์โหลดไปเล่นกัน เว็บแอพฯส่วนใหญ่จะให้บริการข่าว และข้อมูลต่างๆ จากเว็บ และอินเทอร์เน็ต เพื่อให้มันทำงานได้อย่างสมบูรณ์ ดังนั้น ยิ่งมีอุปกรณ์เชื่อมต่อกับเน็ตเพิ่มขึ้นมากเท่าไร (แอพฯมือถือ ทีวี เครื่องเล่นเกมส์ ฯลฯ) ผู้บริโภคก็จะยังคงเข้าถึงเว็บด้วย และนั่นทำให้เว็บเติบโตในแพลตฟอร์มต่างๆ ไปด้วยต่างหาก แล้วคุณผู้อ่านล่ะครับ คิดเห็นอย่างไร? กับประเด็นนี้
ข้อมูลจาก: zdnet

ที่มา http://www.arip.co.th/news.php?id=411968


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น